วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555


นวัตกรรม  หมายถึง  การทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ที่มาขนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา นวัตกรรมที่เกิดขึ้นบางครั้งไม่ได้เกิดจากความตั้งใจให้เกิด เป็นเรื่องที่สอนกันไม่ได้ เรียนรู้กันไม่ได้ เช่นเดียวกับคนที่เป็นอัจฉริยะ ในบางเรื่องไม่สามารถบอกใคร ๆ ได้ว่าเหตุใด ตนเองจึงมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ ไม่จำเป็นที่คนที่เป็นอัจฉริยะจะเป็นผู้สร้างนวัตกรรมขึ้นมาในโลกนี้เท่านั้น คนธรรมดาก็สามารถสร้างได้ เพราะความคิดของแต่ละคนจะมีภูมิปัญญาที่มีแนวคิดแตกต่างกันไป ดังนั้นนวัตกรรมของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน และแตกต่างกันไป ความสำคัญของนวัตกรรม นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพ่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเร่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน จำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ขั้นตอนการเกิดหรือกำเนิดนวัตกรรม ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในการดำเนินการทำโดยการบูรณาการความรู้ของระเบียบวิจัยทางคลินิกร่วมกับการดำเนินการวิจัยขณะปฏิบัติงานประจำหรือที่รู้จักกันว่า Routine to Research (R to R) มีข้อแนะนำดังนี้ 1. ประเมินความต้องการนวัตกรรม (need analysis) โดยประเมินสภาพปัญหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนเพื่อค้นหาความบกพร่อง ความไม่สมบรูณ์ของสิ่งที่มีอยู่ และก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ/ การบริหารงานการพยาบาล รวมทั้งปัจจัยอุปสรรคที่อาจมีผลขัดขวางการพัฒนาคุณภาพบริการจากการใช้นวัตกรรม 2. กำหนดประเด็นหรือหัวข้อ ที่ต้องการพัฒนานวัตกรรม ให้มีความเฉพาะเจาะจง ไม่ศึกษาหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน โดยนวัตกรรมที่จะพัฒนาอาจเป็น กลวิธี เทคนิค โปรแกรม วัสดุ/อุปกรณ์ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม 3. ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบโดยตรวจสอบว่ามีกี่วิธีที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น การประเมินคุณภาพข้อมูลเชิงประจักษ์ทำโดย 3.1 สืบค้นวรรณกรรมที่สนับสนุนความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบนวัตกรรม 3.2 ประเมินระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงประจักษ์ (level of evidence) หากมีประเด็นที่ยังไม่มีการทำวิจัยหรือพบความขัดแย้งในผลงานวิจัยจึงใช้ความเห็นสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญการวิจัย หรือการเทียบเคียงผลของการปฏิบัติงานต่างหน่วยงาน 4. สังเคราะห์ข้อความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่มีคุณภาพเมื่อนำมาบูรณาการวางแผนและการออกแบนวัตกรรม 5. ออกแบบนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติพยาบาลหรือการบริหารจัดการให้ดีขึ้น 6. กำหนดวิธีวัดประสิทธิภาพของนวัตกรรมซึ่งอาจมาจากตัวชี้วัดสุขภาพผู้ป่วยหรือตัวชี้วัดคุณภาพของหอผู้ป่วยและองค์กรวิธีวัดส่วนใหญ่เป็นการวัดผลโดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ 7. กำหนดรายละเอียดของวิธีการใช้นวัตกรรมในคลินิกหรือในการทดลอง 8.ดำเนินการศึกษานวัตกรรมในหน่วยงานหรือองค์กรเป้าหมาย ตามแผนที่วางไว้ในข้อ5 ข้อ6 และข้อ7 9. ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม ทั้งในด้านกระบวนการ รูปแบบและผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วย 10.บันทึกโดยสรุปผลพร้อมแหล่งอ้างอิงที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางคลินิกและการอภิปรายผลลัพธ์ของนวัตกรรม ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี นวัตกรรม เป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ที่มีลักษณะประกอบกันได้แก่ 1. จะต้อง เป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ 2. จะต้อง สามารถนำไปใช้ได้ผลจริง 3. มีการเผย แพร่ออกสู่ชุมชน ส่วนเทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศษสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้เช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ความแตกต่างของนวัตกรรมและเทคโนโลยี นวัตกรรมเป็นการคิดค้นวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆ หรือทำการปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ส่วนเทคโนโลยี คือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชนืในการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีระบบ หรือจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ผลผลิตจากผลการพิสูจน์ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพ เทคโนโลยี เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่างๆ เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ ความหมาย เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเครื่องมือเครื่องจักรเชิงกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย แต่ความเป็นจริงคือ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระดับพื้นฐานอาทิ การเพาะปลูก การชลประทาน การก่อสร้าง การทำเครื่องมือเครื่องใช้ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เป็นต้น ปัจจัยการเพิ่มจำนวนของประชากร ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์(คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา ระบบเทคโนโลยี(Technological System) ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1. ตัวป้อน(Input) คือ ความต้องการของมนุษย์ (Need,Want)หรือปัญหาที่ต้องการหาคำตอบเช่นความต้องการที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่มอาหารยารักษาโรค 2. กระบวนการ(Process) คือ ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) ทรัพยากรให้เป็นผลผลิต หรือผลลัพธ์ ขั้นตอนของกระบวนการจะประกอบด้วย กำหนดปัญหาหรือความต้องการ , รวบรวมข้อมูลเพิ่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ , เลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ, ออกแบบและปฏิบัติการ, ทดสอบ ,ปรับปรุงแก้ไข , ประเมินผล 3. ผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Output or Outcome) สิ่งที่ออกมาจากกระบวนการของระบบ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อตัวป้อนในระบบเทคโนโลยี เช่น สิ่งของเครื่องใช้ วิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ 4.ทรัพยากรทางเทคโนโลยี (Resources) เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินงานของระบบ ได้แก่คน(People),ข้อมูลและสารสนเทศ(DataandInformation),วัสดุ(Materials),เครื่องมือและอุปกรณ์(Machines and Tools),พลังงาน(Energy),ทุน(Capital)หรือทรัพย์สิน(Asset),เวลา(Time) 5.ปัจจัยที่ขัดขวางต่อเทคโนโลยี (Constraints) เป็นข้อจำกัด ข้อพิจารณาหรือสิ่งที่ต้องคำนึงถึงซึ่งจะทำให้ระบบทำงานได้มากน้อยต่างกัน เช่น สภาพอากาศ ,วัฒนธรรมของสังคม ,ความเชื่อ, ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล เป็นต้น ตัวอย่างของสถานการณ์ที่มีปัจจัยขัดขวางทางเทคโนโลยี ปัจจัยที่ทำให้เกิดเทคโนโลยี 1.ความจำเป็นในการดำรงชีวิต มนุษย์จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลัก ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นที่เกี่ยวข้องชีวิตประจำวันอีกมากมาย 2.ความต้องการอยู่รอดให้พ้นจากภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ทำให้มนุษย์ ต้องดิ้นรน ป้องกัน  และหาวิธีการต่าง ๆ ทำให้เกิดเทคโนโลยีการตรวจจับและพยากรณ์แผ่นดินไหว 3.ความใฝ่รู้ของมนุษย์ ทำให้เกิดการคิดค้นเทคโนโลยีประเภทอุปกรณ์และเครื่องมือ 4.ต้องการความบันเทิงและการพักผ่อน ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบกิจกรรมบันเทิง จึงทำให้เกิดเทคโนโลยีเพื่อสนองตอบความต้องการ 5.การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม เป็นสิ่งที่ผลักดันให้มีการคิดค้นเทคโนโลยี สารสนเทศ สารสนเทศหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน ความสำคัญของสารสนเทศ สารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญของโลกปัจจุบัน ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการเมืองเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนามนุษย์แลสังคมในทุกระดับทำให้บุคคลสามารถเสริมสร้างความรู้ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งด้านการงานและชีวิตส่วนตัว ตลอดจนแนวทางแก้ไข การวางแผนและการตัดสินได้อย่างเด่นชัดผู้ใดที่ใฝ่รู้และได้รับ สารสนเทศที่มีคุณค่า ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ผู้นั้นย่อมได้รับชัยชนะเหนือผู้อื่นและจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการทำงานของมนุษย์ ช่วยลดช่องวางความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ ทำให้เกิดสังคมยุคสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมในการทำงานการใช้ชีวิตประจำวัน และการเรียนรู้ดังจะเห็นได้ดังจากบริบทของคำต่างๆที่ใช้ เช่น สำนักงานอัตโนมัติ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกลผ่านเครือข่าย การติดต่อสื่อสารทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และการแพร่กระจ่ายข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตและเว็บสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่ง ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมสารสนเทศ ซึ่งเป็นสังคมที่มุ่งเน้นคุณค่าของข้อมูลข่าวสาร มีการจัดเก็บและใช้ประโยชน์ มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ กันตลอดเวลาและเกิดข้อมูลข่าวสารใหม่ที่มีความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนาต่อไป ในทางกลับกัน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มมากขึ้น เกิดความเหลื่อมล้ำกันของโอกาสและความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร จากการที่เทคโนโลยีสารสนเทศแพร่กระจายไปยังประชาชนของโลกได้ไม่ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จึงเกิดช่องว่างระหว่างผู้มีข่าวสารและผู้ไร้ข่าวสารซึ่งเป็นสาระที่จำเป็นต้องเร่งแก้ไข ยิ่งกว่านั้นในสังคมปัจจุบัน ความรู้ใหม่มีมากมายเกินกว่าจะทำการถ่ายทอดหรือจดจำข้อหาสาระได้หมด อีกทั้งวิทยาการและความรู้ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน การเรียนรู้ทักษะสารสนเทศในสังคมยุคสารสนเทศจึงจำเป็น และสำคัญ ผู้เรียนต้องมีทักษะการสืบค้น ทักษะการติดต่อสื่อสาร และทักษะการจัดเก็บข้อมูล ควบคู่ไปกับทักษะทางด้านภาษา เพื่อใช้ในการศึกษาและการติดต่อสื่อสาร ทักษะการเรียนดังกล่าวเป็นสิ่งที่ต้องเน้นปลูกฝังให้กับเยาวชน เพื่อให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต ประโยชน์ที่ได้จากการจัดการทรัพยากรสารสนเทศคือ 1.รวบรวมข้อมูลจากภายในและภายนอกที่มีความจำเป็นต่อหน่วยงาน 2.ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์นำไปใช้งานได้ 3.มีระบบการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ สะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้ 4.ปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้อง ทันสมัยอยู่เสมอ ประโยชน์ที่ได้จากระบบสารสนเทศที่มีต่อการบริหารงานในองค์กร คือ 1.เพื่อการวางแผน กำหนดเป้าหมายและนโยบายในการบริหารองค์กร 2.สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว 3.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรในองค์กร 4.ช่วยให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้อง การบริหารงานในองค์กรมีประสิทธิภาพ 5.ใช้ควบคุมระบบการทำงานในองค์กรให้ดำเนินไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ 6.องค์กรมีมาตรฐานและคุณภาพในการดำเนินงาน ทำให้ได้รับความเชื่อถือ    7.สร้างโอกาสในการลงทุน ทำให้มีการขยายองค์กรให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น 8.สามารถแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้ ประเภทของระบบสารสนเทศ ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1.ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems) ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน รายการขาย การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น 2.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems) ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร 3.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร 4.ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก 5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้า